ครูนกเล็ก

” ครูนกเล็ก ” ครูพันธุ์ใหม่ หัวใจโซเชียล

” ครูนกเล็ก ” ครูพันธุ์ใหม่ หัวใจโซเชียล

ครูนกเล็ก ยูทูบเบอร์ แนะวิธีทำคลิปให้โดนใจเด็กๆ

ครูนกเล็ก หรือ คุณจีรภัทร์ สุกางโฮง คือครูประจำโรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร) ย่านบางมด กรุงเทพมหานคร เธอคือยูทูบเบอร์รุ่นบุกเบิก ทำช่อง ‘ครูนกเล็ก‘ ตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว ถึงตอนนี้มีคนติดตามช่องของเธอกว่า 9 ล้านคน คลิปที่เธอตั้งใจทำขึ้นมาเป็นสื่อการเรียนการสอน มียอดชมสูงสุดถึง 473 ล้านวิว คลิประดับร้อยล้านวิวก็หลายชิ้น คลิปที่แตะล้านวิวก็มีหลายสิบชิ้น เมื่อมีการปรับการเรียนการสอนให้เป็นแบบออนไลน์ ครูนกเล็กก็ตั้งใจออกแบบการสอนออนไลน์ด้วยเทคนิคแพรวพราวจนดึงดูดความสนใจของเด็กเล็กได้ตลอด และพยายามแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ของการเรียนออนไลน์ จนมีคุณครูหลายคนนำไปทำตาม youtuber

 

ครูนกเล็ก ยูทูบเบอร์ แนะวิธีทำคลิปให้โดนใจเด็กๆ

‘ครูนกเล็ก’ จีรภัทร์ สุกางโฮง ยูทูบเบอร์ เจ้าของช่อง ‘ครูนกเล็ก’ ในปัจจุบัน ณ วันนี้ (1 ตุลาคม 2564 ) มีผู้ติดตามใน YouTube ถึง 9.05 ล้านคน, มีคนถูกใจเพจเฟซบุ๊ค ถึง 4.2 แสนคนและนี่คือบทสนทนาระหว่าง จุดประกาย กรุงเทพธุรกิจ กับครูนกเล็ก…

ความฝันในวัยเด็ก เคยคิดไหมว่า โตขึ้นอยากทำอาชีพอะไร

 

ตอนเด็กๆ ก็มีหลากหลายอาชีพในความฝันที่อยากเป็น แต่พอโตขึ้น ความฝันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นะคะ ตอนเด็กๆ อยากเปิดร้านขายขนม อยากมีร้านไอศกรีม เราเห็นร้านไอติมที่เขาตกแต่งร้านน่ารักดีเพราะที่บ้านพ่อแม่ทำไร่ทำนา เป็นเกษตรกร ไม่มีฐานะให้เราไปซื้อขนมซื้อไอติมมากินได้ ก็คิดว่าถ้าเราเปิดร้านขายขนม ขายไอติม เราก็จะได้กิน นั่นก็คือความคิดแบบเด็กๆ แต่พอโตขึ้นเรียนมัธยมปลายก็เริ่มอยากทำอาชีพครู

 

ทำไมถึงอยากทำอาชีพครู

 

เพราะตอนที่เรียนอยู่ชมรมดนตรีไทย มีครูที่ดูแลเอาใจใส่ ท่านสอนดนตรีไทย แล้วดูแลเราดีเหมือนคนในครอบครัว ก็เลยรู้สึกว่าถ้าเราได้มาเป็นครู เราจะได้ให้โอกาสทางการศึกษา แล้วก็ได้เรียนหนังสือ แล้วก็สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ครูนกเล็ก เรียนจบคณะครุศาสตร์ เอกดนตรีศึกษา ดนตรีไทย จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บรรจุเป็นข้าราชการครู ปีพ.ศ.2552 ที่โรงเรียนวัดราชโกษา เขตลาดกระบัง แต่อยู่ไกลบ้าน เลยขอย้ายมาที่โรงเรียนบางมด (ตันเปาวิทยาคาร) แทน

 

ทำไมถึงเลือกเรียนสาขาดนตรีไทย

 

ตอนม.1 เห็นรุ่นพี่ในชมรมดนตรีไทย เขามาบรรเลงดนตรีไทยในงานต่างๆ ก็เพราะดี แล้วอยากเล่นเป็น พอเขาให้เลือกชมรม ก็เลยไปขอเรียน และอยู่ในชมรมดนตรีไทยตั้งแต่นั้นมา เรียนด้านดนตรีไทย เอกเครื่องสาย เครื่องมือประจำคือ ซออู้

พอเรียนจบก็มาเป็นครู ตอนเด็กๆ เรามองว่าอาชีพครูสบาย แต่งตัวสวย มาเล่นกับเด็ก คุยกับเด็ก สอนหนังสืออย่างเดียว แต่พอมาทำอาชีพครูจริงๆ แล้ว มีหน้าที่อีกหลายอย่างที่ต้องทำ แล้วเราก็ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องคอยตอบคำถามเด็กๆ อะไรที่เด็กไม่รู้ เราจะหาคำตอบมาได้อย่างไร

ครูสมัยเราเป็นเด็กกับครูในสมัยปัจจุบัน แตกต่างกันไหมค่อนข้างต่างกัน ในมุมมองของครูนกเล็กเอง ตอนเด็กๆ เราจะมองว่าครูต้องมีความรู้ทุกอย่าง รู้ทุกเรื่องเลย ถามครู เดี๋ยวครูตอบได้ แต่พอมาเป็นครูเองก็ค้นพบว่า ความจริงแล้วการเป็นครูไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง

แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราจะหาความรู้ หรือจะบอกให้เด็กไปหา ไปค้นคว้า แล้วแหล่งข้อมูลคำตอบที่เด็กเขาอยากรู้ มันเป็นจริงไหม นี่คือสิ่งสำคัญที่เราจะต้องบอกเขาเหมือนชี้แนวทาง เป็นเหมือนผู้ให้คำปรึกษา

รักเดียวครูนกเล็ก - YouTube

 

จุดเริ่มต้นของการทำคลิปสอนบนออนไลน์ ?

 

ตอนเรียนจบเอกดนตรี บรรจุเป็นครู ตอนแรกได้สอนวิชาเอกของตัวเอง แต่พอย้ายโรงเรียน เขามีครูวิชาดนตรีอยู่แล้วและชั่วโมงมันน้อย ครูคนเดียวสอนได้ เนื่องจากโรงเรียนมันเล็ก เราก็ต้องไปช่วยสอนวิชาอื่น ซึ่งเป็นวิชาที่เราไม่ได้จบมา นั่นก็คือวิชา วิทยาศาสตร์

ตอนเด็กๆ ไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์เลย ไม่เข้าใจ แต่พอมาศึกษาจริงๆ ได้พูดคุยกับครูเอกวิทยาศาสตร์แล้ว บอกเลยว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว มันคือเรื่องชีวิตประจำวันของเรานี่ล่ะค่ะ แต่บางทีเรามองไม่เห็นเท่านั้นเอง เหมือนเส้นผมบังภูเขา

เราก็เลยอยากให้เด็กได้เรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานและได้ความรู้ไปด้วย ไม่อยากให้เรียนแล้วเบื่อ หรือว่าไม่เข้าใจ ก็เลยผลิตสื่อการสอน เป็นคลิปละครสั้นๆ ให้เขาเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตของเรา แล้วความตั้งใจของครูก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาอยากจะอยู่กับเรา อยากดูเรา

เจาะทริก “คุณครูยูทูบเบอร์” เจ้าของ 2 ช่องสุดปัง ยอดติดตามรวม “ทะลุ 10 ล้าน!!” [มีคลิป]

แบ่งเวลามาทำคลิปอย่างไร

 

เวลาสอน เราก็สอนเต็มที่ในเวลาปกติ แต่ตอนเย็น หรือเสาร์อาทิตย์ก็เป็นเวลาครอบครัว บางคลิปที่เราถ่ายเสาร์อาทิตย์ เราก็เอาไปเป็นสื่อการสอนที่วางแผนไว้ในสับดาห์ต่อไปได้ล่าสุด เปิดให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมในคลิปด้วยเราเห็นเด็กๆ อยากมาพูดคุยกับเรา เพิ่งทำไป EP แรก ‘ครูนกเล็กคุยกับนักเรียน’ คุยกับเด็กๆ บ้าง ต้อง in box เข้ามารอบละสิบคน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เหมือนที่ครูนกเล็กสอนในออนไลน์

มีเด็กติดต่อมาเยอะค่ะ แต่จำกัดรอบละสิบคน เพราะเด็กที่เข้ามา อยากคุยกับเรา แต่ถ้าเข้ามาเยอะ การพูดคุยก็ไม่ทั่วถึง แต่เดี๋ยวจะจัดให้บ่อยๆ หลายๆ รอบ ก็จะได้สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาในภาวะโรคระบาด เด็กๆ จะต้องทำยังไง ถ้าไม่ได้ไปโรงเรียนครูนกเล็กคิดว่าเรื่องการบริหารเวลา เป็นสิ่งสำคัญมาก ทำยังไงให้เวลาเกิดประโยชน์สูงสุด แล้วอีกเรื่องหนึ่งคือการปรับตัวใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์ เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราอยู่แล้วส่วนใหญ่มีไลน์ มีเฟสบุ๊ค มีช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับครูได้ เพียงแค่หยิบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ทำให้มันมีประโยชน์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

ผู้ปกครองบางคนบอกว่า เด็กทำไม่ได้ อย่าเพิ่งไปขีดข้อจำกัดเด็กว่า เขาทำไม่ได้ ยังไม่ได้ลองเลย ก็รีบไปบอกแล้วว่า เขาทำไม่ได้ อันนี้ค่อนข้างใจร้ายกับเขานิดหนึ่ง ให้ลองก่อน ลองซ้อมกับเขาก่อน ลองสอนเขาก่อนความจริงแล้วเด็ก ป.1 เขาทำได้ เปิดปิดไมค์เองเป็น เราก็สอนให้เขาเข้าเอง เดี๋ยวนี้เด็กๆ ในห้องครูนกเล็กเขาก็เข้าเองได้ โปรแกรมมันเซ็ทระบบของมันอยู่แล้ว แค่ล็อกอินเข้าไป ซักซ้อมทำความเข้าใจกับเขาสักหน่อย แค่นั้นเอง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *